วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กินอะไรให้ลูกในท้องตัวใหญ่ ? กินอย่างไรให้ลงลูก ? แม่ท้องมาดูกัน



       กินอะไรให้ลูกในท้องตัวใหญ่ ? ข้อสงสัยนี้จะหมดไป เมื่อคุณได้รู้จัก 6 อาหารสำหรับเพิ่มน้ำหนักลูกน้อยในท้อง ที่เรานำมาฝากกันวันนี้


สำหรับหัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ ยังไงก็ต้องอยากให้ลูกน้อยแข็งแรงกันทั้งนั้น แต่บางคนก็ต้องเจอปัญหาทารกในครรภ์ไม่โตตามเกณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากโรคประจำตัวของแม่เด็ก หรือความผิดปกติของมดลูกอะไรก็ตามแต่ ถ้าสาเหตุไม่ได้มาจากภาวะติดเชื้อร้ายแรง รู้ไหมคะว่าคุณแม่ก็สามารถช่วยบำรุงให้คุณลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน วันนี้ก็เลยคัด 6 อาหารบำรุงครรภ์ดี ๆ มาฝาก สำหรับคนที่สงสัยว่าคนท้องต้องกินอะไรให้ลูกตัวใหญ่ บอกเลยว่าถึงวันคลอดเมื่อไหร่ เจ้าตัวเล็กจะอ้วนท้วนสมบูรณ์กันถ้วนหน้า แถมคุณแม่ยังมีหุ่นสเลนเดอร์ได้อีกด้วย !  

น้ำหนักลูกในครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ก่อนอื่นเราจะพาคุณแม่ไปเช็กกันก่อนว่า ลูกน้อยในท้องของเรานั้นมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ โดยตัวอ่อนของเด็กในครรภ์จะเริ่มนับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 8 สัปดาห์ขึ้นไป สรุปรวมเป็นระยะตามอายุครรภ์คร่าว ๆ ได้ตามนี้ค่ะ

- ทารกอายุครรภ์ 8-11 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 1-7 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 12-15 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 14-70 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 16-19 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 100-240 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 20-23 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 300-501 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 24-27 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 600-875 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 28-31 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 1,500-1,502 กรัม


- ทารกอายุครรภ์ 32-35 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 1,702-2,383 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 36-39 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 2,622-3,288 กรัม
- ทารกอายุครรภ์ 40-43 สัปดาห์ น้ำหนักปกติจะอยู่ที่ 3,462-3,717 กรัม

อาหารสำหรับเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์
หากไปตรวจร่างกายแล้วพบว่าลูกในท้องมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว คุณแม่ต้องดูแลโภชนาการของตัวเองให้เหมาะสมอีกด้วย ส่วนจะมีอาหารอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกในครรภ์บ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

1. เนื้อสัตว์
แนะนำให้กินเป็นเนื้อสัตว์ลีน ๆ ไม่ค่อยติดมัน อย่างอกไก่ ไก่งวง หรือสันในหมู เพราะนอกจากจะไม่ทำให้คุณแม่น้ำหนักขึ้นแล้ว ยังอุดมไปด้วยโปรตีน และสารอาหารจำเป็นอย่าง ธาตุเหล็กและวิตามินบี ที่ช่วยพัฒนาการเติบโตของลูกน้อยในช่วงไตรมาสแรก ทั้งยังเป็นอาหารบำรุงสมองให้ลูกฉลาดอีกด้วย


2. อาหารทะเล
อีกหนึ่งแหล่งโปรตีนสำคัญ มาพร้อมกับโอเมก้า 3 สำหรับบำรุงให้ร่างกายของเจ้าตัวเล็กเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่มีโปรตีนสูง จำพวกกุ้ง ปลาทูน่า ปลาแซลมอน แต่ถ้ากินบ่อย ๆ ก็เกรงว่าทรัพย์จะจางเอา คุณแม่ก็สามารถหันมากินปลาพันธุ์ไทยอย่างปลาดุก ปลากะพง หรือเลือกซื้อทูน่ากระป๋องในน้ำแร่ได้เช่นเดียวกัน


3. ไข่
ใครไม่ถนัดกินเนื้อสัตว์ หรือไม่อยากตามหาอาหารทะเลให้วุ่นวาย แนะนำให้หาเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่นกกระทามาทดแทนได้ เพราะนอกจากมีโปรตีนสูงแล้ว ยังมีกรดโฟลิก กรดอะมิโนโคลีน ซึ่งเป็นวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ สำหรับการพัฒนาของตัวอ่อนให้โตมามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยคุณแม่ควรรับประทานวันละ 1 ฟอง และต้องเป็นไข่ที่ปรุงสุกอย่าง ไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋นเท่านั้นนะคะ


4. ผักใบเขียว
เมื่อมีอาหารหนัก ๆ อย่างเนื้อสัตว์ เนื้อปลาแล้ว คุณแม่ควรเพิ่มเมนูอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัดผักรวม ในทุก ๆ มื้อด้วย เพื่อช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดี โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น บรอกโคลี ผักโขม คะน้า หรือดอกกะหล่ำ ที่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญแล้ว ยังมีโปรตีนรวมถึงแคลเซียม ช่วยพัฒนากระดูก พัฒนากล้ามเนื้อร่างกาย และเสริมสร้างสมองของลูกให้แข็งแรงอีกด้วย


5. ถั่วและธัญพืช
อาหารดี ๆ ที่กินแล้วได้ครบทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย สรรพคุณดีงามราวกับเป็นอาหารเสริมแร่ธาตุทั้งเหล็ก แคลเซียม และวิตามินบีรวม ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของลูกในท้องได้เป็นอย่างดี โดยคุณแม่สามารถเลือกกินถั่วประเภท อัลมอนด์ วอลนัท ถั่วแดง ถั่วเหลือง หรือถั่วดำ และธัญพืชต่าง ๆ เช่น ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต รวมถึงเปลี่ยนมารับประทานเป็นข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี แทนข้าวขาวขัดสีค่ะ


6. นม ชีส หรือโยเกิร์ต
เป็นอาหารที่หลายคนหลีกเลี่ยงเพราะกลัวว่าจะทำให้อ้วน แต่คุณแม่สามารถหาซื้อชีสสูตรไขมัน 0% โยเกิร์ตสูตรน้ำตาลน้อย หรือเปลี่ยนจากนมวัวมาดื่มนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์แทนก็ได้ เพราะอาหารจำพวกนี้เป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นยอด ที่นอกจากจะหาซื้อสะดวกแล้ว ยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยในหนึ่งวัน แนะนำให้ดื่มนมอย่างน้อย 200-500 มิลลิลิตร หรือกินโยเกิร์ตไม่เกิน 2 ถ้วยค่ะ


ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ ไม่ใช่กินแต่เนื้อสัตว์ หรือกินแต่ผักอย่างเดียวทั้งวัน เพราะการกินอะไรที่มากเกินจำเป็น อาจทำให้ลูกเกิดแพ้อาหารชนิดนั้นได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : baby.kapook,parentune , boldsky

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินอุดหนุนบุตรเดือนกรกฎาคม 2565 โอน 600 บาท เข้าบัญชีพ่อแม่วันนี้ เช็กเลย

    เงินอุดหนุนบุตร เดือนกรกฎาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เผย เงินอุดหนุนเด็ก 600 บาท ออกวันศุกร์ที่ 8 กร...