วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร เผยสาเหตุ และวิธีป้องกันที่ถูกต้อง

 

 

       ภาวะแท้งคุกคาม ปัญหาใกล้ตัวที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ ก่อนเป็นอันตรายต่อตัวเอง และลูกน้อยในท้อง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับภาวะแท้งคุกคามให้มาขึ้น พร้อมแนะวิธีป้องกันที่ถูกต้องกัน


คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ อีกทั้งยังต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวเอง และทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะภาวะแท้งคุกคาม ที่ส่งผลกระทบรุนแรงถึงขั้นทำให้แท้งลูก ด้วยเหตุนี้ จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับภาวะแท้งคุกคาม พร้อมวิธีรักษาที่ถูกต้องมาฝาก เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนกันค่ะ


ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร ?

ภาวะแท้งคุกคาม เป็นอาการที่แม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิดออก โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคุณแม่ที่มีช่วงอายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ และนำไปสู่การแท้งบุตร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย


 

ภาวะแท้งคุกคาม มีสาเหตุมาจากอะไร ?


- ความพิการของทารกแต่กำเนิด (Congenital anomalies)

- ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ (Chromosome anomalies)

- การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน (Blighted ovum)

- ความผิดปกติของมดลูกหรือ ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว

- ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar Pregnancy/Hydatidiform Mole) คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์

- คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคทางต่อมไทรอยด์

- เกิดจากการที่คุณแม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์


อาการของภาวะแท้งคุกคาม

อาการเริ่มแรกของภาวะแท้งจะมีเลือด หรือลิ่มเลือดออกจากทางช่องคลอด ปริมาณเลือดจะมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคล โดยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยหรือหลังส่วนล่างร่วมด้วย หากคุณแม่ท่านใดมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


 

วิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคาม

1. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์

2. หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่เป็นอันตรายต่อตัวเอง และทารกในครรภ์

3. ลดการบริโภคเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีคาเฟอีน

4. หมั่นรับประทานวิตามินบำรุงร่างกายเป็นประจำ เช่น กรดโฟลิก

5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง

6. ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

7. หากเกิดมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

8. หากคุณแม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้


ถึงแม้ภาวะแท้งคุกคามจะดูน่ากลัวสำหรับคุณแม่ทั้งครรภ์ แต่ถึงอย่างนั้นหากคุณแม่หมั่นสังเกตอาการของตนเอง รวมถึงปฏิบัติตน ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ เท่านี้เปอร์เซ็นต์ห่างไกลจากภาวะแท้งก็มีมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก :  baby.kapook ,momjunction , phyathai , healthline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินอุดหนุนบุตรเดือนกรกฎาคม 2565 โอน 600 บาท เข้าบัญชีพ่อแม่วันนี้ เช็กเลย

    เงินอุดหนุนบุตร เดือนกรกฎาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เผย เงินอุดหนุนเด็ก 600 บาท ออกวันศุกร์ที่ 8 กร...